Wednesday, June 27, 2007

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ถึงห่างไกล แต่เทคโนโลยีใช่ว่าจะไปไม่ถึง






ปณิธาน
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงจะเป็นแหล่งสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีที่จะ"ปลูกป่า สร้างคน"อนุรักษ์และฟื้นฟูธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาสด้วยการให้การศึกษาระดับสูงเพื่อพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพแสวงหาองค์ความรู้ใหม่เพื่อพัฒนาบ้านเมืองและธำรงไว้ซึ่งประเพณีและศิลปวัฒนธรรมที่ดีงามของชาติพันธุ์ต่างๆในภาคเหนือและ ภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน
วิสัยทัศน์
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงจะเป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาในระดับสากล มีความเป็นเลิศในศิลปวิทยาการสาขาต่างๆ เพื่อเป็นแหล่งผลิตและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพของประเทศและภูมิภาค รวมทั้งเป็นแหล่งสร้างสมและพัฒนาองค์ความรู้ในด้านต่างๆ ควบคู่กันไปกับการนำองค์ความรู้ในมหาวิทยาลัย ออกไปสู่การประยุกต์ใช้ในสังคมและภาคธุรกิจอุตสาหกรรมของประเทศภายใต้กรอบความร่วมมือที่แน่นแฟ้น กับองค์กรภายนอกในทุกสาขา ในขณะเดียวกันก็จะมุ่งเน้นการศึกษาพัฒนาศิลปะและวัฒนธรรมของชาติเพื่อคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของ ความเป็นชาติสืบไป
ประวัติ
ปี 2534 – 2536
ประชาชนชาวเชียงรายได้เรียกร้องให้มีการจัดตั้งสถาบันการศึกษาระดับสูงขึ้นในจังหวัด มีการระดมความคิดเห็นการจัดการประชุมสัมมนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดเชียงรายปี 2536-2545 ขึ้นเป็นฉบับแรก ซึ่งเกิดจากการระดมความคิดเห็นร่วมกันระหว่างภาคราชการ ภาคเอกชนและประชาชน โดยกำหนดทิศทางการพัฒนาไว้ 3 ทิศทางด้วยกัน หนึ่งในสามทิศทางนั้น คือ “การศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์” ซึ่งไม่เฉพาะจังหวัดเชียงรายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงประชากรในจังหวัดภาคเหนือตอนบน ตลอดจนประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงอีกด้วย
ปี 2537
มีการจัดตั้งคณะกรรมการรณรงค์เพื่อให้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นที่จังหวัดเชียงราย มีการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นในการหารูปแบบและวิธีดำเนินการจัดตั้งมหาวิทยาลัย ซึ่งสรุปได้ในขณะนั้นว่าน่าจะมีหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น เป็นวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยกสถาบันราชภัฏขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย และจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นใหม่ เป็นต้น
18 กรกฎาคม 2538
เมื่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จสวรรคต คณะกรรมการรณรงค์จัดตั้งมหาวิทยาลัยร่วมกับหน่วยราชการจังหวัดเชียงราย ได้ประชุมปรึกษาหารือและเห็นพ้องต้องกันว่า สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวง ต่ออาณาประชาราษฎร์ โดยเฉพาะจังหวัดเชียงรายที่ทรงใช้เป็นสถานที่สร้างพระตำหนักและ ทรงริเริ่มโครงการพัฒนาดอยตุงขึ้น ซึ่งนำความเจริญรุ่งเรืองมายังจังหวัดเชียงรายและประเทศชาติอย่างใหญ่หลวง ฉะนั้นเพื่อแสดงความจงรักภักดีและเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี ตลอดจนเพื่อสนองพระราชปณิธานของพระองค์ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรวมทั้งการพัฒนาคน จึงได้จัดทำโครงการเสนอรัฐบาลให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นที่จังหวัดเชียงราย
4 มีนาคม 2539
นายณรงค์ วงศ์วรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่มุ่งหวังและสนับสนุนที่จะให้มีมหาวิทยาลัยขึ้นที่จังหวัดเชียงราย ได้เป็นผู้ประสานงานโดยนำคณะกรรมการรณรงค์จัดตั้งมหาวิทยาลัย ซึ่งประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น และสื่อมวลชนเข้าพบนายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้เสนอเหตุผลและความจำเป็นที่ขอจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นที่จังหวัดเชียงรายต่อนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็ยินดีที่จะสนับสนุนอย่างเต็มที่ หลังจากนั้นได้ไปพบนายบุญชู ตรีทอง ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งปลัดและรองปลัดทบวงมหาวิทยาลัย เพื่อขอให้สนับสนุนโครงการดังกล่าว
5 มีนาคม 2539
คณะรัฐมนตรีได้มีมติ ให้จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาที่จังหวัดเชียงราย โดยอาจยกฐานะสถาบันราชภัฏเชียงรายขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยก็ได้ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นอนุสรณ์แห่งความจงรักภักดีของรัฐบาลและประชาชนที่มีต่อสมเด็จ พระศรีนครินทราบรม ราชชนนี และเพื่อสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรในภาคเหนือโดยเฉพาะอย่างยิ่งของจังหวัดเชียงราย
27 เมษายน 2539
ทบวงมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการวิเคราะห์เกี่ยวกับการยกฐานะสถาบัน ราชภัฏเชียงรายขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงแล้วสรุปว่ามีความเป็นไปได้ พร้อมทั้งได้ดำเนินการศึกษาเพื่อกำหนดรูปแบบการดำเนินงาน ระบบบริหาร และระบบวิชาการของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงมาตามลำดับ ทบวงมหาวิทยาลัยได้เสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยยกฐานะสถาบันราชภัฏเชียงรายขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยต่อคณะรัฐมนตรี
20 สิงหาคม 2539
คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติในหลักการตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว และให้เสนอคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาตรวจร่าง ต่อมาได้มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรเป็นผลทำให้ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงฉบับนี้ไม่ได้รับการพิจารณา
13 กุมภาพันธ์ 2540
คณะกรรมการกลั่นกรองงานฝ่ายสังคมของรัฐบาลในสมัยที่ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี มอบให้ทบวงมหาวิทยาลัยจัดตั้งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยใหม่ โดยไม่ยกฐานะสถาบันราชภัฏเชียงรายเป็นมหาวิทยาลัย
18 กันยายน 2540
ทบวงมหาวิทยาลัยจึงได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงฉบับใหม่เสนอต่อคณะรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการตามร่างพระราชบัญญัติที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ แล้วส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาตรวจร่างและดำเนินการตามกระบวนการนิติบัญญัติต่อไป และแต่งตั้งให้ รองศาสตราจารย์ วันชัย ศิริชนะ ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินการจัดตั้งเพื่อดำเนินการต่างๆ ให้เรียบร้อยและเสร็จสิ้นโดยเร็ว พร้อมทั้งให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ เพื่อดำเนินการได้ตามความเหมาะสม สำหรับที่ดินที่ใช้ก่อสร้างมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงนั้น คณะกรรมการจังหวัดเชียงรายได้จัดเตรียมไว้ 3 แห่งคือ บริเวณดอยแง่ม อำเภอเมืองเชียงราย บริเวณจอมหมอกแก้ว อำเภอแม่ลาว และบริเวณดอยโตน อำเภอเวียงชัย ซึ่งต่อมานายมนตรี ด่านไพบูลย์ รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยและ รองศาสตราจารย์ วันชัย ศิริชนะ ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย คณะกรรมการดำเนินการจัดตั้งมหาวิทยาลัย แม่ฟ้าหลวง และทบวงมหาวิทยาลัย ได้ร่วมกันพิจารณาเลือกพื้นที่บริเวณดอยแง่ม และจอมหมอกแก้ว เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย ในขณะเดียวกันนักศึกษาและประชาชนจังหวัดเชียงรายก็ได้มีการชุมนุมเรียกร้อง ณ บริเวณโรงแรมลิตเติ้ลดั๊ก จังหวัดเชียงราย เพื่อให้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงขึ้นโดยเร็วและได้ขอคำยืนยันจากรัฐบาล ซึ่งนายมนตรี ด่านไพบูลย์ และรองศาสตราจารย์ วันชัย ศิริชนะ ได้ให้คำยืนยันว่าจะสามารถเปิดรับนักศึกษาได้ภายใน ปี 2542
29 กรกฎาคม 2540
มีการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่จังหวัดเชียงราย ได้มีมติอนุมัติให้ใช้พื้นที่บริเวณดอยแง่ม จำนวน 4,997 ไร่ เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ขณะเดียวกันคณะกรรมการของจังหวัดเชียงรายร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมสถาบันอุดมศึกษาจังหวัดเชียงราย ได้รณรงค์หาทุนทรัพย์เพื่อเป็นค่าทำถนนเข้ามหาวิทยาลัย และเพื่อชดเชยค่าที่ดินที่มีผู้ครอบครองอยู่ในบริเวณนั้นด้วย
26 มีนาคม 2541
ชาวเชียงรายทุกหมู่เหล่า ข้าราชการ พ่อค้า และประชาชน โดยเฉพาะชาวบ้านตำบลแม่ข้าวต้ม ตำบลนางแล ตำบลท่าสุด นับหมื่นคน ได้ร่วมกันนำมีด พร้า จอบ เสียม และเครื่องจักรมาบุกเบิกทางเข้ามหาวิทยาลัยบริเวณดอยแง่มเป็นปฐมฤกษ์ นอกจากนี้ยังได้ร่วมกันปลูกต้นไม้ในบริเวณมหาวิทยาลัย ในโอกาสวันสำคัญต่างๆ หลายครั้ง การเตรียมการจัดตั้งมหาวิทยาลัยได้คืบหน้าเป็นลำดับ
25 กันยายน 2541
มีการตราพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงขึ้น และรัฐบาลก็ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อการเตรียมการในเบื้องต้น ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2539 และในปี2541 นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังได้พระราชทานที่ดินบริเวณไร่ม่อนดินแดง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ประมาณ 700 ไร่ให้มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงอีกแห่งหนึ่งด้วย การจัดสรรงบประมาณเพื่อการก่อสร้างที่ทำการถาวร ณ บริเวณดอยแง่ม อำเภอเมืองเชียงราย ในปีงบประมาณ 2542 เป็นต้นมา
มิถุนายน 2542
เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกของมหาวิทยาลัย โดยเปิดรับ 2 สาขา คือ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร
3 กุมภาพันธ์ 2547
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ประกอบพิธีเปิดมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง พิธีเปิดศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีนสิรินธร และพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2545 ซึ่งเป็นบัณฑิตรุ่นแรกของมหาวิทยาลัย ยังความปลื้มปิติสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น
6 พฤษภาคม 2547
โครงการก่อสร้างมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงที่แล้วเสร็จสมบูรณ์ตามแผนแม่บทกายภาพระยะที่ 1 ตั้งแต่พระราชบัญญัติประกาศใช้ จวบจนปีพ.ศ. 2547 ของการดำเนินภารกิจของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงในด้านการผลิตบัณฑิต ด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงปฏิบัติภารกิจเพื่อสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นอนุสรณ์แห่งความจงรักภักดีของประชาชนชาวไทยตลอดไป

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณมีพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญ พระนามาภิไธย ส.ว. ประกอบเป็นตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีและเป็นสิริมงคล แก่มหาวิทยาลัย โดยตราสัญลักษณ์ดังกล่าวมีเลข ๘ และเลข ๙ ประกอบอยู่ด้วย โดยมีความหมายถึงทรงเป็นพระราชชนนีของพระมหากษัตริย์ 2 พระองค์ คือรัชกาลที่ 8 และรัชกาลที่ 9 และได้อัญเชิญฉัตร 7 ชั้นมาเป็นเครื่องหมายประกอบพระเกียรติยศของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีดอกลำดวนและใบไม้ประดับอันแสดงถึงความมุ่งมั่นของมหาวิทยาลัยที่สนอง พระราชปณิธาน ปลูกป่าและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยไม่หยุดยั้ง

สีประจำมหาวิทยาลัย
สีแดง หมายถึง องค์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
สีทอง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองของมหาวิทยาลัยอย่างไม่มีขอบเขต

ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย



ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ ดอกหอมนวล (ลำดวน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Melodorum fruticosum Lour

Saturday, June 16, 2007

Nakhonpathom...



Introduction
Nakhon Pathom is located in an alluvial plain in the central region, about 58 kms by road from Bangkok. Generally, it is an area of alluvia plain which is drained by the Tha Chin River, covering an area of 2,168,327 sq kms or about 1,355,204 sq Rai. It is an old city which has an interesting history dating back thousands of years. It was well known as a center of cultural development and prosperity. From the evidence revealed by extensive excavation in the past, we have learned a lot of things which have historical and archaeological value, such as Phra Pathom Chedi and Dhammacakra (Symbol of the completeness of the Dhamma) etc.
Borders
□ North: Suphan Buri and Ayutthaya
□ South: Ratcha Buri and Samut Sakhon
□ East: Nontha Buri and Bangkok
□ West: Kanchanaburi

How to get there
[ By Car ]
From Bangkok, driving on the old route of Petchakasem Road (Highway No.4) passing Aom Noi, Aom Yai, Sam Phran to Nakhon Pathom or driving on a new route from Bangkok, passing Buddhamonthon, Nakhon Chaisi to Nakhon Pathom.
[ By Bus ]
From the Southern Bus Terminal on Boromrajajonnani Road there are two lines of buses.
Old Route (Bangkok-Aom Yai-Sam Phran-Nakhon Pathom), there are several lines of 2nd class air-conditioned buses: Bangkok-Nakhon Pathom, Bangkok-Ratchaburi, and Bangkok-Bangli. There are 2 lines of non air-conditioned buses: Bangkok-Nakhon Pathom, Bangkok-Ratchaburi, and Bangkok-Suphanburi.
New Route (Bangkok-Buddhamonthon-Nakhon Chaisi-Nakhon Pathom)
There are 2 lines of 1st class air-conditioned buses: Bangkok-Nakhon Pathom and Bangkok Dan Chang (blue bus) or taking the 2nd class of air-conditioned buses of Bangkok-Damnoen Saduak and Bangkok-Ratchaburi.
For more information, contact the Southern Bus Terminal on Boromrajajonnani Road. Non air-conditioned buses tel: 0 2434 5557-8 and Air-conditioned buses tel: 0 2435 1199.
[ By Rail ]
The State Railway of Thailand operates daily trains to Nakhon Pathom. For more information contact Bangkok Hualampong Railway Grand Station tel: 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 and the Thonburi Railway Station tel: 0 2411 3102.

Festivals & Events
[ Songkran Traditional Festival ]
□ April
Organized in the vicinity of Phra Pathom Chedi area, it features the processions with decorated floats, dragon and lion groups, as the bathing Buddha images rite and the rite to pay respects to the elder, the honorable persons.
[
Gliding Luang Por Wat Rai Khing Festival ]
Held during the 13th waxing moon day to the 4th waning moon day of the 5th lunar month, every year, altogether 8 days and 8 nights. Many forms of entertainment are available such as musical performance, Lie-Kay (Thai song and dance performance), Movies. Local goods are also available for sale.
[ Food Staff and Fruit Fair ]
□ During Chinese New Year period
□ Venue :In the precinct of the Phra Phatom Chedi, Amphoe Muang, Nakhon Phathom.
□ Background/Rationale : Phra Pathom Chedi fare held annually during the Chinese New Year period aims at introducing well-known agricultural products of Nakhon Pathom such as pomeloes, coconuts with flavored milk, oranges, guavas, bananas, grapes, Chinese pork sausages, dried and crispy sweeter pork. Additionally, the fair's purpose is to promote tourism in Nakhon Pathom.
□ Activities :
1.Exhibiting and selling well-known food products and varieties of vegetables and fruits.
2. Displaying and selling local handicrafts.
3. Showing of local culture and tourist attractions and activities of Nakhon Pathom.
[ Loi Krathong Festival ]
□ November
Held within the Sanam Chand Palace ground, contests of many interesting items are held such as Krathongs (decorated baskets), hanging lamp shades, Miss Nopamart, including the interesting folklore playing and displaying of fireworks.
[ Paying homage to Phra Pathom Chedi Fair ]
Taking place during the 12th, waxing moon day to the 4th, waning moon day on the 12Th, lunar month of every year.
□ Venue : In the precinct of the Phra Pathom Chedi, Amphoe Muang, Nakhon Pathom.
□ Background : The festival fair for Paying home to Phra Pathom Chedi is held annually for nine days and nights. There are all kinds of entertainment as well as displays of the local products.
□ Activities :
1. Paying homage to a relic of Lord Buddha and Phra Pathom Chedi and making merit.
2. Attending red cross activities.
3. Participating in activities of local schools and government sections.
4. Practicing gun shooting organized by the police.
5. Buying various kinds of goods and products from factories, companies and stores.
[ Jumbo Banquet & Jumbo Queen Contest ]
Samphan Elephant Ground & Zoo host Jumbo Banquet in May 1st in honor of the gentle elephant which are so well loved in Thailand. 2 Tons of elephant's favorite edibles are selected for them to feast on and Jumbo Queen contest is provided to find the participant of XL ladies that best exhibits the characteristics of the titanic elephant.

Monday, June 11, 2007

หอไอเฟล จ้า




หอไอเฟล(La Tour Eiffel)

หอไอเฟลได้รับการออกแบบและก่อสร้างในปี ค.ศ.1839 โดยเป็นผลงานชิ้นเอก ในการฉลองปฏิวัติฝรั่งเศสอันนองเลือดเมื่อ 100 ปีก่อน
สำหรับผู้ออกแบบหอไอเฟล คือ กุสตาฟ ไอ-เฟล (Gustave Eiffel) ซึ่งเป็นทั้งสถาปนิกและวิศวกรชั้นนำของโลกคนหนึ่ง
ผลงานอีกชิ้นของเขาที่โด่งดังไม่แพ้กันก็ คือ เทพีเสรีภาพที่ยืนอยู่เหนือน่านน้ำของนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา
โดยในการก่อสร้างหอไอเฟลนั้น ทีมงานวิศวกร 50 คนต้องช่วยกัน ร่างแบบจำนวน 5,300 แผ่น สำหรับให้คนงาน 132 คนใช้ในพื้นที่ก่อสร้าง
และต้องใช้เวลา 4 เดือนในการทำฐานราก รวมเวลาก่อสร้าง2ปีจึงแล้วเสร็จ
สำหรับขาของหอคอย เสา 2 ต้นถูกติดตั้งบนฐานคอนกรีตหนา 6 ฟุตครึ่ง และเพราะมีขา 2 ข้างที่ใกล้กับแม่น้ำแซนมาก จึงต้องใช้เขื่อนโลหะกันน้ำ ป้องกันในขณะที่ทำการเทคอนกรีตบนพื้นที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำ
หอไอเฟลนั้นมีความสูงถึง320เมตร เป็นโครงสร้างโลหะทั้งหมดน้ำหนักกว่า 7,000 ตัน ใช้ชิ้นส่วนโลหะทั้งหมด 18,000 ชิ้น หมุดยึดอีก 2 ล้าน 5 แสนตัว ไม่น่าเชื่อว่าทั้งหมดนี้ใช้เพียงเหล็กท่อนแบน และแผ่นเหล็กในการประกอบ
น่าแปลกที่ในตอนแรกหอไอเฟลไม่เป็นที่พิสมัยของชาวปารีสเท่าใดนัก หลายคนก็กลัวว่าหอคอยจะทำลายทัศนียภาพของกรุงปารีส กลุ่มศิลปินกล่าวโจมตีว่าเป็นการเอาเปรียบของยุคอุตสาหกรรม บางคนถึงกับว่ามันเป็นความอัปยศของฝรั่งเศสไปเลยก็มี... แต่ในท้ายที่สุดหอไอเฟลกลับกลายเป็นที่นิยมชมชอบและยืนหยัดเคียงคู่ฟ้าของกรุงปารีสมาจนถึงปัจจุบัน

Monday, June 4, 2007

Shrek3






เรื่องย่อ
การเป็นพระราชาใช่ว่าจะเหมาะกับทุกคน โดยเฉพาะถ้าคุณเป็นยักษ์เขียวที่มีกลิ่นเหม็นสาบโคลนตม เมื่อเชร็คแต่งงานกับฟิโอน่า สิ่งสุดท้ายที่เขาต้องการก็คือการปกครองอาณาจักรฟาร์ฟาร์อะเวย์ แต่เมื่อพระราชาแฮโรลด์ พ่อตาของเขาเกิดสิ้นพระชนม์อย่างกระทันหัน เชร็คจึงกลายเป็นผู้สืบทอดบัลลังก์ทันที บัดนี้ ถ้าว่าที่พระราชาที่ไม่อยากเป็นพระราชา ไม่สามารถหาคนที่เหมาะสมมาแทนที่เขาได้ เขาจะต้องติดแหง่กอยู่กับตำแหน่งนี้ไปตลอดชีวิต
ราวกับนั่นยังเป็นปัญหาหนักอกเชร็คไม่พอ เจ้าหญิงฟิโอน่ากำลังจะมีเซอร์ไพรส์ให้กับเขาอีกด้วย เชร็คที่กำลังมึนงงกับภาระหน้าที่ในการดูแลอาณาจักรและความเป็นพ่อที่กำลังใกล้เข้ามา ออกเดินทางค้นหาว่าที่รัชทายาทอีกเพียงคนเดียวของราชบัลลังก์แห่งนี้ นั่นก็คืออาร์ตี้ ลูกพี่ลูกน้องที่หายตัวไปนานของฟิโอน่า ซึ่งเป็นเจ้าชายวัยรุ่นนอกคอก ขณะที่เชร็คไม่อยู่ ศัตรูเก่าอย่างเจ้าชายชาร์มมิ่งได้พาหน้าหล่อๆ กลับเข้ามายังอาณาจักรฟาร์ฟาร์อะเวย์พร้อมความรู้สึกผิดในสมองเล็กๆ ที่แสนกลวงของเขา
ทางด้านเชร็ค แม้จะมีด็องกี้และพุสส์อินบู้ทส์ที่แสนอ่อนโยนอยู่เคียงข้าง แถมยังได้รับความช่วยเหลืออย่างเต็มกำลังจากฟิโอน่าและเหล่ากองทัพเจ้าหญิงทั้งหลาย แต่มันก็ยังเป็นภารกิจสุดโหดสำหรับเชร็คและอาร์ตี้ที่จะจัดการกับเรื่องทุกอย่าง และค้นหาตอนจบแบบ “มีความสุขไปชั่วนานแสนนาน” ของพวกเขา

Bonjour!