Wednesday, October 31, 2007

โรคกระดูกพรุน คือ ภาวะพร่องของแร่ธาตุในกระดูก ทั้งด้านความหนาแน่น ปริมาณ และความแข็งแรง ภาวะดังกล่าวนี้จะทำให้กระดูกบางลงเพิ่มความสี่ยงที่กระดูกจะหัก ประมาณกันว่ามีชาวอเมริกันถึง 20 ล้านคน โดยเฉพาะผู้หญิงวัยทองเป็นโรคนี้หรือเสี่ยงต่อโรคนี้ แม้ว่ากระบวนการเสริมสร้างกระดูกที่แข็งแรงอาจต้องใช้เวลาตลอดทั้งชีวิต แต่ช่วงที่เสี่ยงต่อโรคนี้ส่วนใหญ่คือวัยผู้ใหญ่ตอนปลาย อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ในระยะแรกอาการของโรคแทบจะไม่ปรากฏ แต่กระนั้นโรคนี้ก็ร้ายแรงถึงขนาดที่ว่าสามารถทำให้กระดูกสันหลังหรือสะโพกแตกร้าว ซึ่งน้อยคนนักที่รอดชีวิตมาได้หากอาการลุกลามไปถึงขั้นนั้น
การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ สามารถช่วยให้เราป้องกันหรือชะลอการบุกรุกของโรคนี้ได้ โดยบริโภคอาหารเหล่านี้เป็นประจำ

• ผลไม้และผักใบเขียวที่ปลูกแบบปลอดสารพิษ

• ผลิตภัณฑ์นม (ถ้าคุณแพ้นม หรือรับประทานนมไม่ได้ ให้ดื่มนมถั่วเหลืองเสริมวิตามิน D แทน)

• กุ้ง, ปลาคอด

• เต้าหู้ หรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองอื่นๆ

• ปลาทะเล

• แอปเปิ้ล

• หลีกเลี่ยง กาแฟ น้ำอัดลม น้ำตาลฟอกขาว เนื้อสัตว์ และเกลือ


โรคหอบหืด คือ ภาวะที่ช่องทางสำหรับลำเลียงอากาศเข้าสู่ปอดไม่ปกติ อาการจะเกิดขึ้นเมื่อเซลล์กล้ามเนื้อที่อ่อนนุ่มล้มเหลวในการขนถ่ายอากาศ จนเส้นทางดังกล่าวปิดในที่สุด จึงยากที่อากาศจะเข้าหรือออกจากปอด นำไปสู่อาการหายใจขัดหรือหายใจลำบาก ถ้าอาการเหล่านี้ดำเนินต่อไปเป็นเวลาชั่วระยะหนึ่ง อาจทำให้ผู้ป่วยหมดสติหรือเสียชีวิตจากการขาดอากาศหายในได้
แม้ว่าผู้ป่วยด้วยโรคนี้จะมีช่วงเวลาที่ไม่ปรากฏอาการ แต่พวกเขาก็ต้องใช้ชีวิตด้วยความหวาดกลัวว่า อาการอาจจะกำเริบขึ้นมาในวินาทีใดวินาทีหนึ่ง โชคดีที่อย่างน้อยก็ยังมีอาหารจำพวกหนึ่งที่ช่วยลดการปะทุของโรค และบรรเทาอาการที่เกิดจากสภาวะอ่อนเพลียนี้ สิ่งที่ควรรับประทานได้แก่

• ผักและผลไม้ปลอดสารพิษ

• ปลาทะเล เช่น ปลาคอด แซลมอน แมคเคอเรล แฮริ่ง

• น้ำมันมะกอก

• โรสแมรี่ ขิง

• ลดการบริโภคนมและผลิตภัณฑ์จากนม ซึ่งเป็นตัวเพิ่มความรุนแรงของอาการหอบหืด


โรคมะเร็งลำไส้ สามารถเกิดขึ้นที่ส่วนใดก็ได้ของลำไส้ ไม่ว่าจะเป็นลำไส้เล็กหรือลำไส้ใหญ่ มะเร็งลำไส้ก่อตัวขึ้นเมื่อเซลล์ของลำไส้สัมผัสกับสารเคมีหรือสารก่อมะเร็งจน DNA ของเซลล์ถูกทำลาย ซึ่งนำไปสู่การผ่าเหล่า (mutation) ในเซลล์ และเซลล์เหล่านี้จะแบ่งตัวอย่างปราศจากการควบคุมและกระจายไปทั่วร่างกาย จนอวัยวะเสียหายและถึงแก่ชีวิตในที่สุด แม้ว่าพันธุกรรมจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคนี้ แต่นักวิจัยเชื่อว่า 90% มีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารของแต่ละคน ดังนั้น วิธีป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ที่ดีที่สุด คือ รับประทานอาหารให้เหมาะสม ซึ่งมีดังต่อไปนี้

• ผักและผลไม้ที่ปลูกแบบออร์แกนิค โดยเฉพาะ แอปเปิ้ล แครนเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่

• น้ำมันมะกอก

• แป้งไม่ขัดขาวเพื่อเพิ่มเส้นใย

• ปลาทะเล เช่น แซลมอน ทูน่า แฮริ่ง แมคเคอเรล เพื่อเพิ่มกรดไขมัน โอเม้า-3

• หัวหอม กระเทียม ต้นหอม ขมิ้น ขิง

• โยเกิร์ต

• บร็อคโคลี่ กะหล่ำปลี

• ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง

• ส้ม มะนาว หรือผลไม้รสเปรี้ยว

• หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ กรดไขมันโอเมก้า-6 ไขมันอิ่มตัว น้ำตาลฟอกขาว และแอลกอฮอล์


Sunday, October 14, 2007

การทำข้อสอบ อ่าน (อังกฤษ) ฉบับพี่เกลือ

ฉบับนี้พี่เกลือมีเทคนิคในการทำข้อสอบ O-net และ A-Net วิชาภาษาอังกฤษในส่วนของ Reading Comprehension เพื่อให้น้องๆเข้าใจถึงหัวใจหลักของข้อสอบส่วนการอ่านนี้ แต่ก่อนอื่นเรามาเรียนรู้เทคนิคที่สรุป วิธีการทำข้อสอบให้ถึง 75 คะแนนกันอีกที ก่อนอื่นน้องเองต้องรู้ว่าใน 100 ข้อนั้นน้องสามารถทำส่วนไหนได้ดีที่สุด และได้ไม่ดีที่สุด ... น้องๆที่พี่รู้จักหลายๆ คนจะทำส่วนของ Conversation ได้อย่างดีมาก
บางคนสามารถทำคะแนนได้เต็มหรือเกือบเต็ม นั้นก็หมายความว่าน้องสามารถเก็บคะแนนได้ 25-30% ของข้อสอบทั้งหมด และส่วนอื่นๆอีก 70-75% จะเป็นส่วนที่น้องต้องใช้ความพยายามมากพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นส่วนของ Cloze Passage, Passage หรือ Error Identification
น้องต้องรู้ศัพท์ระดับกลางอย่างน้อยๆประมาณ 3000 คำศัพท์ระดับกลางนี้พี่จะยกตัวอย่างให้น้องเห็นภาพ ยกตัวอย่างเช่น available circumstance criteria alternative Nevertheless ถ้าน้องรู้ศัพท์ระดับดับจำพวกนี้ได้เป็นจำนวนมากแล้วจะเป็นตัวช่วยส่งเสริมความเป็นไปได้ให้น้องได้คะแนนถึง 75 คะแนน และยิ่งถ้าน้องรู้โครงสร้างของประโยค Simple Compound and Complex sentence อย่างชำนาญ ข้อสอบในส่วนต่างๆน้องก็จะสามารถเข้าใจได้มากขึ้น


เทคนิคการทำข้อสอบในส่วน Reading Comprehension นั้นมีดังนี้ คือ
1. น้องอ่านคำถามของข้อสอบและระหว่างอ่านคำถามน้องพยายามเดา แนวโน้มของบทอ่านว่าเป็นเรื่องอะไร อย่างไร ที่ไหน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาน้องอ่านคำถามพยายามจำให้ได้ว่าเค้าถามอะไร
2. กลับไปอ่านส่วนของเนื้อหา แล้วเมื่อเราเจอประโยคที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกับคำถามที่เราอ่านเมื่อสักครู่นี้ เราเพียงหยุดแล้วกลับไปดูคำถามอีกทีว่าเขาถามอะไร ตรงกับเนื้อหาที่เรากำลังอ่านอยู่ตอนนี้หรือไม่
3.เมื่ออ่านจบแล้วจะเห็นได้ว่าเราสามารถตอบคำถามได้บางข้อเท่านั้น เพราะคำถามในส่วนอื่นมักจะเป็นการคิดวิเคราะห์ของผู้อ่านเอง ฉะนั้นจึงจำเป็นมากในการอ่านฝึกฝนพอสมควรในการทำข้อสอบประเภทนี้

ดังนั้นขอให้น้องๆฝึกฝนการทำข้อสอบให้เยอะๆเพราะจะได้เห็นรูปแบบของข้อสอบ ขอให้น้องโชคดีกับการสอบที่จะถึงนี้